หมุดหลักฐานระบบดาวเทียม GPS/GNSS
ให้บริการ งานสำรวจ จัดทำหมุดหลักฐานแผนที่ GPS
- หมุดหลักฐานดาวเทียม GPS Static
- หมุดหลักฐานดาวเทียม Rapid Static
- หมุดหลักฐานดาวเทียม RTK
- หมุดวงรอบ
รับสำรวจ จัดทำหมุดหลักฐาน ระบบดาวเทียม GPS/GNSS
“หมุดดาวเทียม” หมายถึง หมุดหลักฐานแผนที่ ที่ได้ค่าพิกัดจากการรับสัญญาณดาวเทียม
“หมุดดาวเทียม Static” หมายถึง หมุดดาวเทียมที่ได้ค่าพิกัดจากการรับสัญญาณดาวเทียม โดยวิธีการรังวัดแบบสถิต (Static) ซึ่งหมายความรวมถึง หมุดหลักฐานแผนที่ดาวเทียมกรมที่ดินเฉลิมพระเกียรติและหมุดหลักฐานแผนที่ดาวเทียมชนิดมั่นคงถาวร
“หมุดดาวเทียม Rapid Static” หมายถึง หมุดดาวเทียมที่ได้ค่าพิกัดจากการรับสัญญาณดาวเทียมโดยวิธีการรังวัดแบบสถิตอย่างเร็ว (Rapid or Fast Static)
“หมุดดาวเทียม RTK” หมายถึง หมุดหลักฐานแผนที่ ที่ได้ค่าพิกัดจากการรับสัญญาณดาวเทียมโดยวิธีการรังวัดแบบจลน์ได้ค่าพิกัดทันที ณ เวลาทาการรังวัด (Real Time Kinematics, RTK)
“หมุดพยานดาวเทียม” หมายถึงหมุดหลักฐานแผนที่ที่สร้างขึ้น เพื่อใช้ค้นหาและตรวจสอบตาแหน่งของหมุดดาวเทียม Static
ที่มา : ระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการรังวัดหมุดหลักฐานแผนที่โดยระบบดาวเทียม พ.ศ ๒๕๕๓
Download Click >>
http://www.dol.go.th/dol/images/medias/dol/file/pdf/mapping/rule_mapping2553.pdf
https://dol-rtknetwork.com/index.php/main
ระบบดาวเทียม GNSS
GNSS ย่อมาจากคำว่า Global Navigation Satellite System ซึ่งเป็นคำที่ทั่วโลกใช้เรียกระบบดาวเทียมที่มีการเปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน และระบบดาวเทียมที่มีการวางแผนจะเปิดให้บริการในอนาคต ซึ่งดาวเทียมต่าง ๆ ในระบบ GNSS ประกอบไปด้วย
-GPS ย่อมาจาก Global Positioning System ซึ่งเป็นดาวเทียมระบบแรกของโลกที่ออกแบบโดยประเทศสหรัฐอเมริกา
-GLONASS เป็นระบบดาวเทียมของประเทศรัสเซีย
-Galileo เป็นระบบดาวเทียมของสหภาพยุโรป
-BeiDou เป็นระบบดาวเทียมของประเทศจีน
-IRNSS เป็นระบบดาวเทียมระดับภูมิภาค (Regional navigation Satellite System) ของประเทศอินเดีย
-QZSS เป็นระบบดาวเทียมระดับภูมิภาคของประเทศญี่ปุ่น เช่นเดียวกับ IRNSS เปิดให้บริการเฉพาะประเทศญี่ปุ่นและ ประเทศแถบ Asia-Oceania
GPS (จีพีเอส)
GPS คือ ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก ย่อมาจากคำว่า Global Positioning System ซึ่งระบบ GPS ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักคือ
1. ส่วนอวกาศ
ดาวเทียม GPS (Navstar หรือ Navigation Satellite Timing and Rankging GPS) ประกอบด้วยดาวเทียม 24 ดวง โดยแบ่งเป็น 6 รอบวงโคจร การโคจร จะเอียงทำมุมเอียง 55 องศากับเส้นศูนย์สูตร (Equator) ในลักษณะสานกันคล้าย ลูกตะกร้อแต่ละวงโคจรมี ดาวเทียม 4 ดวง รัศมีวงโคจรจากพื้นโลก 20,162.81 กม. หรือ 12,600 ไมล์ ดาวเทียมแต่ละดวงใช้ เวลาใน การโคจรรอบโลก 12 ชั่วโมง
2. ส่วนควบคุม
ประกอบด้วยสถานีภาคพื้นดิน สถานีใหญ่อยู่ที่ Falcon Air Force Base ประเทศอเมริกา และศูนย์ควบคุมย่อยอีก 5 จุด กระจายไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก
3. ส่วนผู้ใช้งาน
ผู้ใช้งานต้องมีเครื่องรับสัญญาณที่สามารถรับคลื่นและแปรรหัสจากดาวเทียมเพื่อนำมาประมวลผลให้เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ
ปัจจุบันนี้ได้มีการใช้งาน GPS ในรูปแบบต่างๆ เช่น การกำหนดพิกัดของสถานที่ต่าง ๆ การทำแผนที่ งานสำรวจ , การนำทาง สามารถนำทางได้ทั้งภาพและเสียง ใช้ได้หลายภาษา บางแบบมีภาพเสมือนจริง ,การวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินโครงข่ายหมุดดาวเทียม ,การกำหนดจุดเพื่อบรรเทาสาธารณะภัย ,การนำไปใช้ประโยชน์ในกระบวนการยุติธรรม เช่นการติดตามบุคคล การติดตามการค้ายาเสพติด ,การนำไปใช้ประโยชน์ทางทหาร ,การกีฬา เช่นใช้ในการฝึกฝนเพื่อวัดความเร็ว ระยะทาง แคลลอรี่ที่เผาผลาญ ,การนันทนาการ เช่น กำหนดจุดตกปลา หาระยะเวลาที่เหมาะสมในการตกปลา ,การควบคุมหรือติดตามยานพาหนะ การติดตามบุคคล นอกจากนั้นยังสามารถนำไปใช้ในการป้องกันการโจรกรรมและติดตามทรัพย์สินคืน ,การประยุกต์ใช้ทางด้านการเกษตร เป็นต้น
ที่มา : RTSD
http://gnss-portal.rtsd.mi.th/portal/apps/sites/#/gnss/pages/satellite
https://gnss-portal.rtsd.mi.th/portal/apps/sites/#/gnss